ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย มีเอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อม สามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบและทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล

1. รักษาความสงบภายในประเทศ

  • เสริมสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน
  • เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ
  • ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • เสริมสร้างกลไกป้องกันและขจัดปัญหาความมั่นคง


2. ป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อความมั่นคง

  • ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขทุกมิติ
  • พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลอดภัยและสันติสุข
  • รักษาผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทะเล


3. พัฒนาศักยภาพให้พร้อมเผชิญ “ภัยคุกคาม” ทุกรูปแบบ

  • บูรณาการงานข่าวกรองแห่งชาติ
  • ผนึกพลังอำนาจแห่งชาติ
  • พัฒนาระบบจัดการภัยคุกคาม


4. บูรณาการความร่วมมือกับอาเซียนและนานาชาติ

  • รักษาดุลยภาพระหว่างประเทศ
  • ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพของภูมิภาค
  • ร่วมมือการพัฒนาในทุกระดับ


5. พัฒนากลไกการบริหารจัดการ “แบบองค์รวม”

  • ยึดหลักประสิทธิภาพ
  • ยึดหลักธรรมาภิบาล
  • บังคับใช้กฎหมายเคร่งครัด