สำนักงาน ป.ย.ป. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ผู้ต้องขัง ผ่านนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Correctional Industrial Estate)

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 สำนักงาน ป.ย.ป. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ผู้ต้องขัง ผ่านนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Correctional Industrial Estate) ณ ห้องประชุม Mayfair Grand C ชั้น ๑๑ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โดยมี ดร. ชุติมา หาญเผชิญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นประธานการประชุมและกล่าวเปิดงาน ดร .ศุภฤกษ์  ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยสำนักงาน ป.ย.ป. กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน และการเสวนา หัวข้อ “การขับเคลื่อนการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ผู้ต้องขัง ผ่านนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Correctional Industrial Estate) โดย ดร. เมธินี  เทพมณี  อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพงเรือน ดร. ชาญ  วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นางกนกพร  ปทุมโรจน์ สวัสดิ์-ชูโต  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและวิศวกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร. ปภารณ์  ชุณหชัชราชัย  ผู้อำนวยการ กอง ๑ และ รศ. พ.ต.ต. ดร. ชวนัสถ์  เจนการ ที่ปรึกษาโครงการ การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก่ผู้ต้องขังผ่านนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์

(Correctional Industrial Estate) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๑๐๐ คน จากหน่วยงานภาครัฐ (ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ และเจ้าหน้าที่กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างเครื่องมือในการกำกับติดตามและประเมินสัมฤทธิ์ของการขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้ ผู้เสวนา และผู้เข้าร่วมประชุม ต่างเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวของสำนักงาน ป.ย.ป. ทั้ง ๓ ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ ๑ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ประเด็นที่ ๒ การขยายผลการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ในพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ และประเด็นที่ ๓ การพัฒนาการจัดการรูปแบบด้านแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน

เพื่อนำแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือในการกำกับติดตามการขับเคลื่อนโครงการทั้งในระยะสั้น ระยะกลางระยะยาว ที่สามารถใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินโครงการในแต่ละระยะ ที่จะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานหลายหน่วยงานให้มีผลสัมพันธ์กัน (Logical Framework) ตลอดจนแก้ไขกฎหมาย/กฎระเบียบในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (Correctional Industrial Estate) เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content