ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

การพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่

1. ต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่นๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่

2. ปรับปัจจุบัน เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต

3. สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน

มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน เพื่อให้ทุกส่วนมีส่วนในการเข้าสู่อำนาจบริหารและเข้าถึงการให้บริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน

1. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ

  • ปรับโครงสร้าง “เศรษฐกิจฐานราก”
  • ปฏิรูประบบ “ภาษี”
  • กระจายการถือครอง “ที่ดิน” และ “ทรัพยากร”
  • เพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย
  • สร้างหลักประกันสังคมทุกกลุ่ม
  • ลงทุนทางสังคมในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
  • เข้าถึงบริการสาธารณสุข
  • เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม


2. กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

  • พัฒนาศูนย์กลางความเจริญ
  • แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
  • จัดระบบเมืองใหม่เพื่อการขยายตัวในอนาคต
  • พัฒนาบนฐานข้อมูล
  • พัฒนากำลังแรงงาน


3. เสริมสร้างพลังทางสังคม -สนับสนุนการรวมกลุ่ม -ส่งเสริมระบบรองรับสังคมผู้สูงอายุ

  • สนับสนุนความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  • ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
  • สนับสนุนทุนทางสังคมและวัฒนธรรม
  • สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อรองรับสังคมยุคดิจิทัล


4. เพิ่มขีดความสามารถชุมชนท้องถิ่น

  • พัฒนาขีดความสามารถการวางแผนชีวิตในระดับครอบครัว
  • สร้างศักยภาพชุมชนให้พึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
  • สร้างประชาธิปไตยชุมชน
  • สร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาชุมชน