ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่
1. ต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่นๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่
2. ปรับปัจจุบัน เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต
3. สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
1. เกษตรสร้างมูลค่า
- เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
- เกษตรปลอดภัย
- เกษตรชีวภาพ
- เกษตรแปรรูป
- เกษตรอัจฉริยะ
2. อุตสาหกรรมและบริหารแห่งอนาคต
- ชีวภาพ
- แพทย์ครบวงจร
- ดิจิทัล ข้อมูล และเอไอ
- โลจิสติกส์
- ความมั่นคง
3. ความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว
- เชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
- เชิงธุรกิจ
- เชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย
- สำราญทางน้ำ
- เชื่อมโยงภูมิภาค
4. โครงสร้างพื้นฐาน “เชื่อมไทย เชื่อมโลก”
- โครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ
- พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- เพิ่มพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ
- โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสมัยใหม่
- รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค
5. พัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่
- ผู้ประกอบการอัจฉริยะ
- โอกาสเข้าถึง “เงิน”
- โอกาสเข้าถึง “ตลาด”
- โอกาสเข้าถึง “ข้อมูล”
- โอกาสเข้าถึง “บริการภาครัฐ”