ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้งสามด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
1. สังคมเศรษฐกิจสีเขียว
- เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพ
- อนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
- อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
- รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว
- การบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน
2. สังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
- เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล
- ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและทะเล
- ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล
- เพิ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทะเล
3. สังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ส่งเสริมการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
- พัฒนาระบบรับมือต่อโรคอุบัติใหม่
4. พัฒนาเมือง ชนบท เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- ทำ “แผนผังภูมินิเวศ” อย่างเป็นเอกภาพและยั่งยืน
- จัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- สงวน รักษา อนุรักษ์ และฟื้นฟู
- พัฒนาเครือข่ายและอาสาสมัคร
- ยกระดับความสามารถป้องกันโรคอุบัติใหม่
5. พัฒนาความมั่นคง น้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาการจัดการลุ่มน้ำ
- เพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบ
- พัฒนาความมั่นคงด้านพลังงาน
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- พัฒนาความมั่นคงด้านเกษตรและอาหาร
6. ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
- ส่งเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาเครื่องมือ กลไก และระบบยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
- จัดโครงสร้างเชิงสถาบัน
- ยกระดับกระบวนทัศน์บนหลักการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล