การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม วันที่ 5 กันยายน 2567 ณ ห้องสี่พระยา โรงแรม ดุสิตดีทู สามย่าน กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม  ณ ห้องสี่พระยา โรงแรม ดุสิตดีทู สามย่าน กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.อรพินท์ สพโชคชัย นักวิชาการอิสระ และอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ ดร.อภิญญา ดิสสะมาน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล  สถาบันพระปกเกล้า นายวิสุทธิ์ ตันตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านขยายความร่วมมือและพันธกิจ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)ดร.ศุภฤกษ์  ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. พร้อมผู้แทนหน่วยงานและผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการสัมมนาฯ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตลอดจนการสร้างความสามัคคีปรองดองระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะ มาตรการ และแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป โดยสาระสำคัญของการสัมมนาฯ สรุปได้ ดังนี้

ดร.ศุภฤกษ์  ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ และกล่าวถึงภารกิจหลักของสำนักงาน ป.ย.ป. ที่ได้ขับเคลื่อนการสร้าความสามัคคีปรองดองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน โดยในปี ปี พ.ศ. 2565 สำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธธรรมศาสตร์จัดทำแนวทาง กลไกและมาตรการในการสร้างความปรองดอง และจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ แบ่งออกเป็น 3 กล่องใหญ่ คือ เปิด : เปิดพลังบวก ปิดปัจจัยลบต่อความปรองดอง ปรับ : ปรับเปลี่ยนความรู้คิด และผลักดัน : ผลักดันการปฏิรูปเพื่อไปสู่ความปรองดอง ซึ่งนำไปสู่การต่อยอดการยกร่างแผนต่อไป ต่อมาปี พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน 4 ยุทธศาสตร์ และในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2567) สำนักงาน ป.ย.ป. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ เป็น 2 ส่วน ดังนี้ การสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม และสร้างการรับรู้ในระดับเยาวชน โดยการสัมมนาฯ ในวันนี้ และในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดขอนแก่น (ภายในเดือนกันยายน 2567) จะรับความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อันเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญอันจะนำไปสู่ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองในปี พ.ศ. 2568 ที่จะพัฒนาข้อเสนอแนะ มาตรการ และแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับต่อไป

การอภิปราย หัวข้อ ถอดบทเรียนการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองการสร้างความเป็นธรรม ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนา
ดร.อรพินท์ สพโชคชัย นักวิชาการอิสระ และอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ ดร.อภิญญา ดิสสะมาน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล  สถาบันพระปกเกล้า  เป็นวิทยากร โดยมีนายรุจิภาส จรรยาศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินรายการ
มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ …นโยบายของรัฐบาลแต่ละยุคสมัยล้วนมีผลกระทบและสำคัญต่อความเป็นอยู่ของทุนทางสังคม การจ้างงานในชนบท การสร้างรายได้ สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก ทุนทางสังคม

การบรรยาย หัวข้อ มุมมองและประสบการณ์การสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายวิสุทธิ์ ตันตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านขยายความร่วมมือและพันธกิจโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้กล่าวถึงการสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ …ปัจจุบันการสร้างความสามัคคีปรองดองในยุคมีหลายมิติ และมีความซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมาก

การแบ่งกลุ่มย่อย (Work shop) แนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของประเทศไทยด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ย.ป. เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม
ภายหลังจากที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้รับฟังการบรรยายจากวิทยาการทั้ง 2 หัวข้อดังกล่าวแล้วนั้น สำนักงาน ป.ย.ป. ได้จัดให้ช่วงท้ายของการสัมมนาฯ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งตลอดจนการสร้างความสามัคคีปรองดองระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้แบ่งกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ที่มาจากหน่วยงานที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มได้แลกเปลี่ยนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสามัคคีปรองดองของหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการ เครื่องมือ / วิธีการ / แนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ทั้งเครื่องมือในเชิงป้องกันและเยียวยา) ปัญหาหรืออุปสรรค รวมทั้งผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ / กิจกรรมดังกล่าว เพื่อได้รับทราบกลไกการดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน  อันจะนำไปสู่การระดมสมองเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หรือการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือพัฒนาเครื่องมือ / วิธีการ /มาตรการ และแนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม เกิดประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content