เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 1 ตามหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) จัดโดยสํานักงานขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สํานักงาน ป.ย.ป.) ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการขับเคลื่อนต้นแบบนโยบายหัวข้อการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้านักเรียนระดับ อาชีวศึกษา: การซ่อมบํารุงรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีนางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อํานวยการกอง 3 สํานักงาน ป.ย.ป. พร้อมด้วยข้าราชการจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 และ 4 ผู้เข้าร่วมกลุ่มโจทย์เดียวกันจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย สํานักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) และบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ ณ บริษัท พนัสแอสเซมบลีย์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) จังหวัดชลบุรี
ในช่วงแรกปลัดกระทรวงแรงงานได้กล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโจทย์กลุ่มนี้ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อให้มีงานทํา ในส่วนของสถานประกอบการก็จะไม่ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะตามที่ต้องการซึ่งกระทรวงแรงงานเองก็มีภารกิจที่จะต้องขยายผลเรื่องการจัดหาพัฒนาและส่งแรงงานเข้าสู่สถานประกอบการอย่างมีคุณภาพในภาพรวม โดยจะหารือร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งภาครัฐและเอกชนต่อไป
นอกจากนี้ คณะผู้ติดตามความก้าวหน้าได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตรถไฟฟ้าของ บริษัท พนัสแอสเซมบลีย์ จำกัด ที่ให้นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาเข้าร่วมฝึกงานตามเส้นทางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับประกอบอาชีพต่อไป โดยในภาพรวมการติดตามงานครั้งนี้ คณะผู้ติดตามได้รับฟังกระบวนการดําเนินการและปัญหาอุปสรรค อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแรงงานเข้าสู่สถานประกอบการในพื้นที่ EEC จากผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ผู้อํานวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ผู้อํานวยการเทคนิคชลบุรี ผู้อํานวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ประกอบด้วย ปัญหาอุปสรรคและข้อจํากัดจากการดําเนินการที่ผ่านมา เช่น ระเบียบหลักเกณฑ์และกฎหมายที่ไม่สอดรับกับนโยบายการบริหารจัดการ ค่าจ้างค่าตอบแทนและสมรรถนะแรงงานของสถานประกอบการ เป็นต้น ในตอนท้ายปลัดกระทรวงแรงงานได้ย้ำ อีกครั้งว่าผลจากต้นแบบนโยบายในครั้งนี้จะต้องขยายผลการพัฒนาแรงงานเข้าสู่สถานประกอบการในพื้นที่อื่น ๆ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป