ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” ร่วมหารือเพื่อกำหนดขั้นตอนการสร้างความเข้าใจ เข้าถึงสภาพปัญหา (Empathizing)

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 สำนักงาน ป.ย.ป. ได้จัดกิจกรรมกำหนดขั้นตอนการสร้างความเข้าใจ เข้าถึงสภาพปัญหา (Empathizing) ของกลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” ภายใต้หลักสูตร ป.ย.ป. ปี 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงศึกษาธิการ 3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ 4) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมหารือเพื่อกำหนดขั้นตอน การสร้างความเข้าใจ เข้าถึงสภาพปัญหา (Empathizing) ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) และได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ฯ

ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้ร่วมกันระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประเด็นความร่วมมือ (Stakeholders Identification) ในการขับเคลื่อนโจทย์บูรณาการ การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำของกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนอายุ 6 – 18 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เด็กที่เคยเรียนในระบบการศึกษาแล้วหลุดออกมา 2) เด็กที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาแต่มีความเสี่ยงที่จะหลุดการศึกษา และ 3) เด็กที่ยังไม่เคยเข้าสู่ระบบการศึกษาเลย โดยจะเก็บข้อมูลทดลองในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ภูเก็ต ขอนแก่น และ ลำปาง รวมถึงได้หารือถึงแนวทางการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจะทำความเข้าใจกับพื้นที่ และวางแผนการทำงานแบบบูรณาการ นําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ทั้งนี้ การ Empathizing เป็นขั้นตอนแรกในการทำ Desing Thinking ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Policy Innovation Lab ที่สำนักงาน ป.ย.ป. นำมาใช้ในการพัฒนาต้นแบบ โดยการ Empathizing เป็นขั้นตอนที่ต้องเข้าใจวิเคราะห์ปัญหาและพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องในขั้นตอนต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content