ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize)

วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” จาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 5) กระทรวงอุตสาหกรรม และ 6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)

ในช่วงแรกผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอแนวทางการดำเนินงานของทีมโจทย์เกษตรในภาพรวม และนายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ วิทยากรกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และเครื่องมือสำหรับเข้าใจพฤติกรรมและสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงนำเสนอกรณีศึกษาเพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (กลุ่มสนับสนุน และกลุ่มขัดขวาง) และกลไก มาตรการสนับสนุน และบริการภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน

จากนั้น ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดประเด็นศึกษาให้เข้าใจพฤติกรรมและสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในเชิงลึก (การลงพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้อง วิธีการหาข้อมูล) โดยวางแผนการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่เพื่อบูรณาการงานและนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content