ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการเข้าใจปัญหาและการจัดกลุ่มและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการ บูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่าง มีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” จาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 5) กระทรวงอุตสาหกรรม และ 6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกันหารือเพื่อวิเคราะห์ทำความเข้าใจพฤติกรรมและเข้าถึงสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation Lab) ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ.ร. ศูนย์ราชการ ฯ แจ้งวัฒนะ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting)

ในช่วงแรกผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอผลการวิเคราะห์ทำความเข้าใจพฤติกรรมและเข้าถึงสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และนายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ วิทยากรกระบวนการให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงนำเสนอกรณีศึกษาเพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (กลุ่มสนับสนุนและกลุ่มขัดขวาง) และการจัดกลุ่มและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน เพื่อกำหนดแนวคำถามเพื่อจะนำไปสอบถามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มผลิตและกลุ่มตลาด เพื่อระดมความคิดเห็นในการคิดข้อคําถาม/สิ่งที่อยากรู้จากกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรม เข้าถึงสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อที่จะดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามให้ ป.ย.ป 3 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลล่วงหน้า และหลังจากนั้น ป.ย.ป. 2 กับ 4 จะลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งในวันที่ 27 มิถุนายน 2566

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content