วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟัง
การนำเสนอต้นแบบนโยบาย ภายใต้หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า (ป.ย.ป. 1) หรือ
ผู้ที่ ป.ย.ป. 1 มอบหมาย จำนวน 19 หน่วยงาน คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เลขาธิการสภาการศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (ป.ย.ป. 2) ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในส่วนระดับท้องถิ่น (ป.ย.ป. 3) ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป หรือกลุ่มกำลังคนคุณภาพ (ป.ย.ป. 4) รวมทั้งสิ้น 139 คน ณ ห้องพระวิษณุ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น
โดยผู้แทน ป.ย.ป. 1 ในแต่ละโจทย์ได้นำเสนอต้นแบบนโยบายฯ จำนวน 5 ต้นแบบ ดังนี้
1) การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปรับการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงให้นักเรียนหรือเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา โดยได้ลงขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่อง ณ จังหวัดภูเก็ต
2) การลดจำนวนผู้เสพยาเสพติด โดยใช้การบำบัดรักษาโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อกลับคืนสังคมอย่างมีคุณค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดวงจรอาชญากรรม เพื่อลดจำนวนผู้เสพยารายใหม่ และเพิ่มการเข้าถึงบริการ/ช่วยเหลือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยได้ลงขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่อง ณ จังหวัดชัยภูมิ
3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และยกระดับอาชีพการเกษตรตลอดจนสถาบันเกษตรกร ด้วยการสร้างระบบบริหารการจัดการทรัพยากรด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) และพัฒนาแนวทางการสร้างรายได้หลักจากอาชีพเกษตร ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุควิถีชีวิตถัดไป โดยได้ลงขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่อง ณ จังหวัดสระบุรี4) การยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศด้วย Soft Power ด้านอาหารให้สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านห่วงโซ่คุณค่าต่าง ๆ เช่น การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นวัตถุดิบใน
การปรุงอาหารไทย การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยให้ตอบสนองความต้องการบริโภคทั้งในระดับประเทศและระดับสากล การส่งเสริมการรวมกลุ่มร้านอาหารไทยทั่วโลก เป็นต้น โดยได้ลงขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่อง ณ จังหวัดเพชรบุรี
5) การใช้ Soft Power เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการท่องเที่ยวแบบ Workation เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางหลักในการ Workation ด้วย Soft Power
โดยการพัฒนาสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การส่งเสริมให้ Co-Working Space ได้มาตรฐาน การพัฒนาระบบประกันภัยสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งได้ลงขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่อง ณ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ชื่นชมหลักสูตร ป.ย.ป. ที่สามารถปรับรูปแบบ
การทำงานให้หน่วยงานภาครัฐได้ทำงานเชิงบูรณาการร่วมกัน พร้อมทั้งขอให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ นำต้นแบบนโยบายดังกล่าวไปขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม หรือนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเพิ่มมูลค่า
ทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนและประเทศชาติได้