สำนักงาน ป.ย.ป. จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม ให้กับผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 เพื่อการขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 นางชุติมา หาญเผชิญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม ให้แก่ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 เพื่อการขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ.ร. ศูนย์ราชการ ฯ แจ้งวัฒนะ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting) โดยมีผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 – 4 จาก จาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) 4) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 5) กระทรวงอุตสาหกรรม 6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่จะร่วมขับเคลื่อน หัวข้อ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” โดยได้รับเกียรติจากท่านอภิชาต จงสกุล รองเลขามูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ฯ

ในช่วงแรก ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา ได้กล่าวแนะนำวิทยากร และฉายวิดิทัศน์สรุปภาพรวมนโยบายการขับเคลื่อนโจทย์บูรณาการของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และ นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ อดีตผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนแม่บท สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้สรุปแนวทางนโยบายของ ป.ย.ป. ในแต่ละกระทรวงในการพัฒนานโยบายของรัฐ ภายใต้กระบวนกาห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation Lab) และชี้แจงหลักการ แนวคิด สมรรถนะ และแนวทางขับเคลื่อนโจทย์นโยบายภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ หลัก Sustainable Development Goals ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่”

จากนั้นเป็นการระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เช่น การกำหนดพื้นที่ การกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนอื่น ๆ และแผนการดำเนินการ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ ป.ย.ป. 2 ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า ทั้งจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ป.ย.ป. 3 ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับพื้นที่ ทั้งในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และ ป.ย.ป. 4 ได้แก่ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่ต้องการขับเคลื่อน โดยเป็นข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปบูรณาการงานและนำไปสู่การปฏิบัติ เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content