สำนักงาน ป.ย.ป. จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 เพื่อการขับเคลื่อนการบูรณาการในหัวข้อ “การยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และการใช้ Soft Power เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการ Workation (Best Destination for Workation) เพื่อดึงดูดให้ต่างชาติมาใช้จ่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้น” ภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบายตามแนวคิดเชิงออกแบบ

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 นางชุติมา หาญเผชิญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 เพื่อการขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการภายใต้กระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ.ร. ศูนย์ราชการ ฯ แจ้งวัฒนะ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting) โดยมีผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 – 4 จาก 9 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2) กระทรวงพาณิชย์ 3) กระทรวงอุตสาหกรรม 4) กระทรวงการต่างประเทศ 5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 7) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 8)กระทรวงวัฒนธรรม และ 9) สำนักงาน ป.ย.ป. ที่จะร่วมขับเคลื่อน หัวข้อ “การยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และการใช้ Soft Power เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการ Workation (Best Destination for Workation) เพื่อดึงดูดให้ต่างชาติมาใช้จ่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้น”

โดยในช่วงเช้าเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อ “Soft Power : บริบท ความหมาย ความสำคัญต่อประเทศไทยบนเวทีโลก” โดยมี นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการกอง 3 รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายภูสิษฐ์ จาตุรงคกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ วิทยาลัยผู้ประกอบการสร้างสรรค์นานาชาติรัตนโกสินทร์ ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับมุมมอง และบทเรียน ความสำเร็จ ความล้มเหลวในการพัฒนา บทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการสร้างเสริม ต่อยอดการพัฒนา Soft Power

ในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมตามกระบวนการ Policy Innovation Lab สำหรับผู้เข้าร่วมหลักสูตรได้มีการแบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการบูรณาการขับเคลื่อนในเบื้องต้น เพื่อนำมากำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นในครั้งต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content