เมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567 ห้องประชุม 801 ชั้น 8 สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
สำนักงาน ป.ย.ป. ในฐานะอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจ คณะที่ 3 ได้จัดประชุมหารือประเด็นข้อเสนอการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องการนำเข้าสิ่งของและคนเพื่อจัดงานไมซ์ 3 ประเด็น
โดยมีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม นายศุภฤกษ์ ภู่พงษ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยสำนักงาน ป.ย.ป. นายปภณ โชคธนวณิชย์ ผู้อำนวยการกอง 2 ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมการจัดหางาน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ย.ป. เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
ที่ประชุมได้พิจารณา 3 ประเด็น ดังนี้
- ประเด็นที่ 1 : การปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในข้อกฎหมาย เพื่อรองรับการ จัดงานแสดงสินค้านานาชาติเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการได้เสนอที่ประชุมโดยสรุปว่า ควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการนําเข้าเครื่องสําอาง เพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อจัดนิทรรศการ หรือเพื่อใช้ในการศึกษา วิจัย หรือ วิเคราะห์ทางวิชาการ พ.ศ. 2562 เหลักเกณกี่ยวกับฑ์และวิธีการ และเงื่อนไขตามวัตถุประสงค์การนำเข้า เครื่องสำอางเพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นการนำเข้าเครื่องสำอาง และนำเข้าเครื่องสำอางเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ จากที่กำหนดจำนวนชิ้น เป็น “ในปริมาณเท่าที่จำเป็น” โดยอาจไม่ต้องระบุจำนวนเครื่องสำอาง ที่นำเข้ามา เพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าว - ประเด็นที่ 2 : การลดอัตราภาษีสำหรับการนำเข้าภาพวาดศิลปะเพื่อ รองรับการจัดงานเทศกาล ศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ (Art Fairs)
เนื่องจากผู้นำเข้าหรือเจ้าของผลงานศิลปะ (ภาพระบายจิตรกรรม) ที่มีความประสงค์นำเข้าเพื่อจัดแสดงและจำหน่ายในประเทศไทยต้องชำระภาษีอากรในราคาที่สูง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดงานศิลปะร่วมสมัย ระดับนานาชาติในประเทศไทย จึงเห็นควรเสนอลดอัตราภาษีอากรสำหรับการนำเข้าภาพวาด ศิลปะ - ประเด็นที่ 3 : การปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ในข้อกฎหมาย เพื่อรองรับ การจัดงานแสดงสินค้า นานาชาติเกี่ยวกับผักหรือ ผลไม้สด
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ เห็นว่า เนื่องจากกฎหมายที่กำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยทางสุขอนามัยพืชกำหนดให้ สิ่งของประเภทพืช (ผักหรือผลไม้สด) เป็นสิ่งต้องห้าม และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้าหรือนำผ่าน ซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการหลายขั้นตอน จึงเห็นควรปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาเรื่องการนำเข้า สิ่งของประเภทพืช (ผักหรือผลไม้สด) สำหรับ งานแสดงสินค้านานาชาติในประกาศกรมวิชาการเกษตรให้มีความชัดเจนและควรจัดทำคู่มือประชาชนเรื่องการนำเข้า สิ่งของประเภทพืช (ผักหรือผลไม้สด) สำหรับงานแสดงสินค้านานาชาติและควรมี Super License โดยผู้นำเข้าขอใบอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งถือเป็น หน่วยงานหลักแล้ว ไม่ต้องไปขอใบอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอีก
ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวข้องการนำเข้าสิ่งของและคนเพื่อจัดงานไมซ์ต่อไป