วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม ภายใต้โครงการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมรัตนชล จังหวัดชลบุรี

นางศุภาวี บำรุงศักดิ์ วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวเปิดงานและแนะนำวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม
นางศุภาวี บำรุงศักดิ์ วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวเปิดงานและแนะนำวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม

นายวันชัย จึงจรัสทรัพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านบึง นางสาวปริยาภา อมรวณิชสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และตัวแทนภาคีเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี พูดคุยในแต่ละจุดเด่น 5F ของ Soft Power ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาล (Festival) ที่มีความโดดเด่นในจังหวัดชลบุรี
นายวันชัย จึงจรัสทรัพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านบึง นางสาวปริยาภา อมรวณิชสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และตัวแทนภาคีเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี พูดคุยในแต่ละจุดเด่น 5F ของ Soft Power ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาล (Festival) ที่มีความโดดเด่นในจังหวัดชลบุรี

ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออก ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ แนวทางการพัฒนาภูมิปัญญา สินค้า หรือบริการทางวัฒนธรรมภายในพื้นที่ที่มีโอกาสสร้างเป็น Soft Power การใช้ Soft Power ในการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีให้กับประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และประเด็นการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมฯ รวมทั้งบทบาทและภารกิจของสำนักงาน ป.ย.ป. ในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power อย่างบูรณาการ
ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออก ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ แนวทางการพัฒนาภูมิปัญญา สินค้า หรือบริการทางวัฒนธรรมภายในพื้นที่ที่มีโอกาสสร้างเป็น Soft Power การใช้ Soft Power ในการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีให้กับประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และประเด็นการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมฯ รวมทั้งบทบาทและภารกิจของสำนักงาน ป.ย.ป. ในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power อย่างบูรณาการ

ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอแนวคิดการขับเคลื่อนสินค้าหรือวัฒนธรรมประจำถิ่นผ่านกระบวนการผืนผ้าใบ (Canvas Model) ที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคตะวันออก ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยงทั้งในและต่างประเทศที่สามารถต่อยอดหรือยกระดับให้เป็น Soft Power ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และขยายผลไปในระดับสากลได้ อาทิ การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวชุมชน การแสดงหนังใหญ่ เทศกาลวิ่งควาย การแสดงพื้นบ้านเอ็งกอ เครื่องจักสาน ผ้ามัดย้อม ขนมจีนน้ำยาปู แกงไก่กะลา กาแฟมะพร้าว เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอแนวคิดการขับเคลื่อนสินค้าหรือวัฒนธรรมประจำถิ่นผ่านกระบวนการผืนผ้าใบ (Canvas Model) ที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคตะวันออก ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยงทั้งในและต่างประเทศที่สามารถต่อยอดหรือยกระดับให้เป็น Soft Power ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และขยายผลไปในระดับสากลได้ อาทิ การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวชุมชน การแสดงหนังใหญ่ เทศกาลวิ่งควาย การแสดงพื้นบ้านเอ็งกอ เครื่องจักสาน ผ้ามัดย้อม ขนมจีนน้ำยาปู แกงไก่กะลา กาแฟมะพร้าว เป็นต้น