วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรมภายใต้โครงการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 – 2570) ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นางสุณิสา โกศินานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวเปิดงานและแนะนำวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม ภายใต้โครงการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 – 2570)
นางสุณิสา โกศินานนท์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวเปิดงานและแนะนำวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม ภายใต้โครงการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 – 2570)

ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภาคกลาง ได้ระดมความคิดเห็นผ่านกระบวนการผืนผ้าใบ (Canvas Model) เพื่อนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมหรือสินค้าและบริการที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชนที่สามารถต่อยอดหรือยกระดับให้เป็น Soft Power ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และขยายผลไปในระดับสากลได้ ซึ่งพบว่าภาคกลางมีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน ประเพณีแข่งเรือยาว ตำนานวรรณคดีไทย การแสดงลิเก เพลงฉ่อย เพลงพื้นบ้าน เครื่องจักสาน มีดอรัญญิก กุ้งแม่น้ำ เป็นต้น
ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภาคกลาง ได้ระดมความคิดเห็นผ่านกระบวนการผืนผ้าใบ (Canvas Model) เพื่อนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมหรือสินค้าและบริการที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชนที่สามารถต่อยอดหรือยกระดับให้เป็น Soft Power ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และขยายผลไปในระดับสากลได้ ซึ่งพบว่าภาคกลางมีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน ประเพณีแข่งเรือยาว ตำนานวรรณคดีไทย การแสดงลิเก เพลงฉ่อย เพลงพื้นบ้าน เครื่องจักสาน มีดอรัญญิก กุ้งแม่น้ำ เป็นต้น

ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในภาคกลางเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และประเด็นการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมฯ รวมทั้งบทบาทและภารกิจของสำนักงาน ป.ย.ป. ในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power อย่างบูรณาการ
ผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในภาคกลางเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ความท้าทาย และประเด็นการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมฯ รวมทั้งบทบาทและภารกิจของสำนักงาน ป.ย.ป. ในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power อย่างบูรณาการ