สำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย (Policy Innovation Lab) ภายใต้หลักแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ให้กับผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” ในระดับพื้นที่

วันที่ 14 มิถุนายน 2566 สำนักงาน ป.ย.ป. ได้จัดกิจกรรมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย (Policy Innovation Lab) ภายใต้หลักแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ให้กับผู้เข้าร่วมหลักสูตรในระดับท้องที่ของกลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงศึกษาธิการ 3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ 4) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในช่วงแรก นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการ กอง 3 รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. ได้สรุปภาพรวมและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ และ ป.ย.ป. 2 จากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้สรุปทบทวนนโยบายและข้อสั่งการของ ป.ย.ป. 1 ให้ ป.ย.ป. 3 ซึ่งเป็นผู้ที่จะดำเนินการในระดับพื้นที่รับทราบจากนั้น หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. ได้สรุปประเด็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนโจทย์บูรณาการ แผนการดำเนินการ ในภาพรวม และแนวทางการเก็บข้อมูลในระดับพื้นที่ และดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ฯ ได้ให้ข้อเสนอเพิ่มเติมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ผู้ร่วมหลักสูตรร่วมกันระบุกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 6-18 ปี จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เด็กที่เคยเรียนในระบบการศึกษาแล้วหลุดออกมา 2) เด็กที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาแต่มีความเสี่ยงที่จะหลุดการศึกษา และ 3) เด็กที่ยังไม่เคยเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะร่วมลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมต่อไป

แชร์ข่าวนี้

ข่าวอื่น ๆ

Messenger
Skip to content