สำนักงาน ป.ย.ป. หารือร่วม กฟผ. พิจารณาความเป็นไปได้แนวทางการ Transform เมืองแม่เมาะเพื่อรองรับแผนการทยอยปิดโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ

          เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) นำโดย นายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และเตรียมการรองรับกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะทยอยหยุดดำเนินการในแต่ละปี และมีแผนหยุดดำเนินการครบทุกโรงไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2594 ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพนักงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะต้องว่างงานลงจำนวนมาก โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือปี พ.ศ. 2568 กฟผ. มีกำหนดปิดโรงไฟฟ้าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงานลดลงถึง 9,000 คน และค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดลำปาง (GPP) จะลดลงเป็นมูลค่า 15,793 ล้านบาท/ปี (ร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดลำปาง) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) นำโดย นายจรัญ คำเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และเตรียมการรองรับกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะทยอยหยุดดำเนินการในแต่ละปี และมีแผนหยุดดำเนินการครบทุกโรงไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2594 ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพนักงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะต้องว่างงานลงจำนวนมาก โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าหรือปี พ.ศ. 2568 กฟผ. มีกำหนดปิดโรงไฟฟ้าลงครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงานลดลงถึง 9,000 คน และค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดลำปาง (GPP) จะลดลงเป็นมูลค่า 15,793 ล้านบาท/ปี (ร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดลำปาง)

          ผลจากการหารือในครั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. ได้รับทราบแผนการพัฒนาเมืองแม่เมาะตามที่ กฟผ. นำเสนอ รวมถึงแผนการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ภาพรวมของโครงการโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เห็นว่า โครงการดังกล่าวไม่เพียงจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ แต่ยังส่งผลถึงประเทศในภาพรวมด้วย และจากการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ (Maga Project) ที่ต้องบูรณาการการทำงานระหว่างหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน จึงควรมีการตัดสินใจในระดับนโยบายหรือเป็นแผนระดับชาติ ดังนั้น เป้าหมายแรกจะต้องทำให้เกิดการตัดสินใจระดับนโยบายว่าจะตอบรับเดินต่อโครงการนี้หรือไม่ โดยสำนักงาน  ป.ย.ป. จะนำข้อมูลหารือผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดกระบวนการได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ จะมีการหารือหน่วยงานระดับปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารระดับนโยบายด้วย

Messenger
Skip to content