วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 สํานักงาน ป.ย.ป. ได้จัดการประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อน โจทย์บูรณาการ หัวข้อ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ภายใต้หลักสูตร ป.ย.ป. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม 134-135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ย.ป. (นางชุติมา หาญเผชิญ) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประยูร อินสกุล) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นายปวัตร์ นวะมะรัตน) เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) ผู้แทนปลัดกระทรวงกระทรวงอุตสาหกรรม (นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม) ในฐานะ ป.ย.ป. 1 มอบนโยบายให้กับรองหัวหน้า ส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า (ป.ย.ป. 2) เจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับพื้นที่ทั้งในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (ป.ย.ป. 3) และข้าราชการผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่ต้องการขับเคลื่อน โดยเป็นข้าราชการระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป (ป.ย.ป. 4) เพื่อนํานโยบายไปร่วมระดมความคิดเห็นผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation Lab) และพัฒนาต้นแบบนโยบายโจทย์บูรณาการ “การสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่” ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ 1. เพื่อสร้างหลักสูตร พัฒนานักธุรกิจการเกษตรยุคใหม่ให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ก้าวทันการเกษตรโลก กำหนดแนวทางปรับทัศนคติ (Mindset) ความเชื่อของคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่การประกอบอาชีพการเกษตรเพิ่มขึ้น ด้วยวิธี “ระเบิดจากข้างใน” ด้วยการสร้าง Brand Ambassador เกษตรภาพลักษณ์ใหม่ “Smart and Happy Farmer” 2. ผสานกลไกภาครัฐในการสนับสนุน ส่งเสริม และยกระดับอาชีพการเกษตร ตลอดจนสถาบันเกษตรกร ด้วยการสร้างระบบบริหารการจัดการทรัพยากรด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) และ 3. พัฒนาแนวทางการสร้างรายได้หลักเพิ่ม และเสริมรายได้จากอาชีพเกษตร (Value Added) ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุควิถีชีวิตถัดไป (Next Normal)