วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566 กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การลดจำนวนผู้เสพยาเสพติด โดยใช้การบำบัดรักษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อกลับคืนสังคมแบบมีคุณค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดวงจรอาชญากรรม” จาก 8 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงสาธารณสุข 3) กระทรวงยุติธรรม 4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 6) กระทรวงกลาโหม 7) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และ 8 ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ.ร. ศูนย์ราชการ ฯ แจ้งวัฒนะ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)
ในช่วงแรก ผศ. ดร. ธนพล วีรา ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมและโครงการพิเศษ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และเครื่องมือสำหรับเข้าใจพฤติกรรมและสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงนำเสนอกรณีศึกษาเพื่อจำแนกกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (กลุ่มสนับสนุน และกลุ่มขัดขวาง) และกลไก มาตรการสนับสนุน และบริการภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จากนั้น ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดประเด็นศึกษาให้เข้าใจพฤติกรรมและสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในเชิงลึก (การลงพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้อง วิธีการหาข้อมูล) โดยวางแผนการลดจำนวนผู้เสพยาเสพติดโดยใช้การบำบัดรักษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เสพ เพื่อน ครอบครัว ชุมชน ผู้นำชุมชน เพื่อบูรณาการงาน และนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ผศ. ดร. ธนพล วีรา ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมและโครงการพิเศษ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
ผศ. ดร. ธนพล วีรา ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมและโครงการพิเศษ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ตามแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
ป.ย.ป. 2 ได้แก่ 1) นายแพทย์ศักดา อัลภาชน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางนุสรา วงษ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 2) นางเตือนใจ คงสมบัติ รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และ 3) นายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. ร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เคยเสพยาเสพติด ผู้ที่อยู่ระหว่างการเสพยาเสพติด ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดรักษาแล้ว และชุมชน
ป.ย.ป. 2 ได้แก่ 1) นายแพทย์ศักดา อัลภาชน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางนุสรา วงษ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ 2) นางเตือนใจ คงสมบัติ รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และ 3) นายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. ร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เคยเสพยาเสพติด ผู้ที่อยู่ระหว่างการเสพยาเสพติด ผู้ที่เคยผ่านการบำบัดรักษาแล้ว และชุมชน
ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็น วางแผนแนวทางการทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในเชิงลึก (การลงพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้อง วิธีการหาข้อมูล)
ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็น วางแผนแนวทางการทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในเชิงลึก (การลงพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้อง วิธีการหาข้อมูล)
นายแพทย์ฐิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ ได้ให้ข้อเสนอ ในการสร้างชุมชนให้เข็มแข็ง โดยหลักการ 4 สร้าง ได้แก่ สร้างความรู้สึกปลอดภัย สร้างความรู้สึกสงบ สร้างสังคมที่ไม่มีการตีตรา และสร้างความรู้สึกไม่ให้สิ้นหวัง โดยใช้หลักสัมพันธภาพทางสังคม เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
นายแพทย์ฐิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ ได้ให้ข้อเสนอ ในการสร้างชุมชนให้เข็มแข็ง โดยหลักการ 4 สร้าง ได้แก่ สร้างความรู้สึกปลอดภัย สร้างความรู้สึกสงบ สร้างสังคมที่ไม่มีการตีตรา และสร้างความรู้สึกไม่ให้สิ้นหวัง โดยใช้หลักสัมพันธภาพทางสังคม เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ กล่าวสรุปผลการประชุมฯ
นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ กล่าวสรุปผลการประชุมฯ