วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี ๒๕๖๖ กลุ่มขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงาน ป.ย.ป. 2) กระทรวงศึกษาธิการ 3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ 4) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกระบวนการเข้าใจปัญหา (Empathize) ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting) โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ฯ
ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้ระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการทำงาน ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนอายุ 6-18 ปี ที่หลุดออกจากระบบการศึกษา และเด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยจะเก็บข้อมูลทดลองในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ 1) ศึกษาธิการจังหวัดภาค 5 (พัทลุง)2) ศึกษาธิการจังหวัดภาค 6 (ภูเก็ต) 3) ศึกษาธิการจังหวัดภาค 12 (ขอนแก่น) และ 4) ศึกษาธิการจังหวัด ภาค 15 (ลำปาง) รวมถึงได้หารือถึงแนวทางการจัดเก็บข้อมูล เพื่อเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น จะทำความเข้าใจกับพื้นที่ และวางแผนการทำงานแบบบูรณาการ นําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการ กอง ๓ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ย.ป.
ร่วมชี้แจงแนวทางการดำเนิน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการ กอง ๓ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ย.ป.
ร่วมชี้แจงแนวทางการดำเนิน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” ให้คำแนะนำกับผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ
ดร. ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาประจำกลุ่มโจทย์ หัวข้อการบูรณาการ “การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ” ให้คำแนะนำกับผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ
หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวชี้แจงแนวคิดและกระบวนการในการเข้าใจปัญหา (Empathize) ภายใต้ กระบวนการ Policy Innovation Lab
หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวชี้แจงแนวคิดและกระบวนการในการเข้าใจปัญหา (Empathize) ภายใต้ กระบวนการ Policy Innovation Lab
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 และ 4 จาก กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 2 และ 4 จาก กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 3 – 4 จากกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย 1) นายชูสิน วรเดช ศึกษาธิการภาค 6 2) นายสุภชัย จันปุ่ม ศึกษาธิการภาค 12 3) นายปรเมศวร์ ศิริรัตน์ ศึกษาธิการภาค 5 4) นางปริญาติ แขกเพ็ง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต 5) นางณัฐกฤตา พึ่งสุข ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 6) นางสาวผึ้งพันธ์ เผ่าจินดา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต กรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. 3 – 4 จากกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย 1) นายชูสิน วรเดช ศึกษาธิการภาค 6 2) นายสุภชัย จันปุ่ม ศึกษาธิการภาค 12 3) นายปรเมศวร์ ศิริรัตน์ ศึกษาธิการภาค 5 4) นางปริญาติ แขกเพ็ง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต 5) นางณัฐกฤตา พึ่งสุข ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 6) นางสาวผึ้งพันธ์ เผ่าจินดา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต กรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี ๒๕๖๖ ประชุมระดมความคิดเห็น
ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี ๒๕๖๖ ประชุมระดมความคิดเห็น
ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ