Social Credit
การขับเคลื่อนการสร้างระบบเครดิตสังคมในประเทศไทย โดยสำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมกับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในการขยายผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้กิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในทุกช่วงวัย ผ่านการปฏิรูปอุตสาหกรรมบันเทิงและการใช้กลไกร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนในกิจกรรมย่อยสำคัญ ที่เกี่ยวกับกลไกระบบเครดิตสังคม (Social Credit) สำนักงาน ป.ย.ป. ได้มีการดำเนินการในห้วงที่ผ่านมาโดยการขับเคลื่อนการขยายผล ดังนี้
1. ศึกษาจัดทำแผนการขับเคลื่อนระบบเครดิตสังคม (Social Credit) มาใช้ในประเทศไทย จากการทบทวนจากงานวิจัย บทความ วรรณกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการใช้เครดิตสังคมในประเทศไทย ทั้งในด้านแผนยุทธศาสตร์และการจัดการระบบข้อมูล สำหรับร่างแผนการใช้ระบบเครดิตทางสังคมในประเทศไทย
2. ลงนามในบันทึกการสร้างความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) ขับเคลื่อนกรอบแนวคิดการพัฒนาการใช้ระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ในประเทศไทย ระหว่างสำนักงาน ป.ย.ป. และศูนย์คุณธรรมฯ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานของการแสดงพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนในระยะยาวเพื่อเป็นการสร้างรากฐานของการแสดงพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนในระยะยาว โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้
ขอบเขตความร่วมมือสำนักงาน ป.ย.ป. (๑) นำข้อมูลด้านวิชาการไปใช้ในการสร้างการรับรู้ ขับเคลื่อน ขยายผล รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบแนวคิดการพัฒนาการใช้ระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ในประเทศไทย ให้กับส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (๒) ร่วมกันพัฒนารูปแบบ แนวทาง และแผนการขับเคลื่อนกรอบแนวคิดการพัฒนาการใช้ระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างรากฐานของการแสดงพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนในระยะยาว
ขอบเขตความร่วมมือของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) (๑) ให้คำปรึกษาและสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ เพื่อสร้างความร่วมมือในการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ประโยชน์ร่วมกันเกี่ยวกับกรอบแนวคิดการพัฒนาการใช้ระบบเครดิตสังคม (Social Credit) รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรากฐานของการแสดงพฤติกรรมเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๒) ร่วมกันพัฒนารูปแบบ แนวทาง และแผนการขับเคลื่อนกรอบแนวคิดการพัฒนาการใช้ระบบเครดิตสังคม (Social Credit) ในประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างรากฐานของการแสดงพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนในระยะยาว
3. จัดทำแนวทางการขับเคลื่อน การสร้างระบบเครดิตสังคมในประเทศไทยเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ดำเนินการขับเคลื่อนตามแนวทาง การขับเคลื่อนการสร้างระบบเครดิตสังคมในประเทศไทย และให้รายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไป
4. อยู่ระหว่างดำเนินการบูรณาการเชื่อมโยงพฤติกรรมเชิงบวก โดยการเเสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างการรับรู้เเละส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในระยะเริ่มต้นอาจดำเนินการให้เกิดศูนย์รวมพฤติกรรมความดีหรือ D-Catalog
โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินกิจกรรมความดี และสิทธิประโยชน์ที่ได้จาก พฤติกรรมความดี นำไปสู่การจัดทำแนวทางที่ได้รับการยอมรับและสามารถขยายผลความดีในสังคมได้ในระยะแรกร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ
(1) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ประชุมได้ร่วมกันออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนระบบเครดิตทางสังคม เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาเกิดความรับผิดชอบ และเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการได้รับโอกาส ด้านการศึกษา
(2) สภากาชาดไทย ที่ประชุมได้ร่วมกันออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนระบบเครดิตทางสังคม โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ได้เสนอถึงการพัฒนา “Moral credit” ว่าอยู่บนแนวคิดขอบคุณที่ทำความดี ไม่ใช่การตอบแทนความดี และเน้นการสร้างความสุขจากการเป็นผู้ให้ โดยนำพลังของสื่อสังคมออนไลน์มาช่วยสร้างความตระหนัก
(3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงาน ป.ย.ป. เข้าหารือร่วมกับ สสส. เกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างระบบเครดิตสังคมในประเทศไทย ซึ่ง สสส. เป็นหน่วยงานที่มีกิจกรรมและการดำเนินการส่งเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและสังคมในทางที่ดี สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างระบบเครดิตสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำเนินงานและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนระบบเครดิตสังคมในประเทศไทย นำไปสู่การบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
5. STO Smart Briefing (ฉบับที่ 1) “ระบบเครดิตสังคม (Social Credit)”