การขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติผ่านกลไกกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง

กลไกการขับเคลื่อนกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง

     กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง เป็นกลไกในการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของแต่ละกระทรวง ตามความคล่องตัว โครงสร้าง และประสิทธิภาพของหน่วยงาน โดยเน้นการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดปัญหาการดำเนินการที่ต้องมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานหลายหน่วย หรือการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนเชื่อมโยงหลายหน่วยงาน โดยให้สำนักงาน ป.ย.ป. ประสานงานระหว่างกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหานำเสนอ         คณะกรรมการ ป.ย.ป. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ตามคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563

     สำนักงาน ป.ย.ป. จึงเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา แนะนำ ให้แก่กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง ตลอดจนกำกับติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรม ดังนี้

     สำนักงาน ป.ย.ป. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศช่วงปี 2564 – 2565” เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายวิษณุ  เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อน    การปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเครือข่าย ป.ย.ป. กระทรวง ส่วนราชการ และรวมถึงรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำแผน
การดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมรวม 250 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง   13 ด้าน ปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ย.ป.

     รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้กล่าวปาฐกฐาพิเศษเพื่อเป็นการมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ ให้กับผู้เข้าร่วม       การประชุมว่า “การดำเนินงานของสำนักงาน ป.ย.ป. จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ชาติและประเด็นปฏิรูปประเทศที่คณะกรรมการ ป.ย.ป.    มอบหมาย และประเด็นกิจกรรมที่จะส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ หรือที่เรียกกันว่า Big Rocks ที่หน่วยงานต่าง ๆ มีหน้าที่จะต้องรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ eMENSCR ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ตามแผน      การปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ กลไกที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนงานให้กับกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงจากระดับนโยบายลงสู่ระดับปฏิบัติ  ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศของกระทรวง โดยการกำกับ ประสาน ปรึกษา ติดตามผล แก้ปัญหา ในลักษณะศูนย์บัญชาการ และเป็น     แกนกลางระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกกระทรวง ตลอดจนติดตามและจัดทำผลดำเนินการ และปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ทราบสถานการณ์ความก้าวหน้าและปัญหาที่เป็นปัจจุบัน โดยจะรายงานผ่านสำนักงาน ป.ย.ป. เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ย.ป. ต่อไป”

     สำนักงาน ป.ย.ป. ได้พัฒนาระบบรับเรื่องข้อขัดข้องเพื่อเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม   แผนปฏิรูปประเทศของสำนักงาน ป.ย.ป. ใช้ติดตามรายงานความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการขับเคลื่อนประเทศต่อสำนักงาน ป.ย.ป. แบบออนไลน์        ผ่านเว็บไซต์ https://thailandbigrock.sto.go.th ซึ่งสำนักงาน ป.ย.ป. ได้มีการชี้แจงแนวทางการใช้งานระบบรับเรื่องข้อขัดข้องดังกล่าวให้แก่ กลุ่ม ป.ย.ป.กระทรวง      เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 และทำการติดตามการรายงานเป็นประจำทุกเดือน

https://thailandbigrock.sto.go.th/

     สำนักงาน ป.ย.ป. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการรับรู้และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ สำหรับกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง ณ โรงแรม  เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติให้กับกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง และส่วนราชการ      ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมรวม 120 คน ประกอบด้วย ผู้นำกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง กลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ย.ป. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนการทำงานของสำนักงาน ป.ย.ป. จากลักษณะการทำงานแบบประจำ (Routine Based) ให้เป็นลักษณะการทำงานเชิงโครงการ (Project Based) เพื่อตอบสนองต่อการเจริญเติบโตขององค์กร การปรับตัวต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

     สำนักงาน ป.ย.ป. ได้ปรับปรุงบทบาทของสำนักงานให้มีลักษณะเป็นและหน่วยงานของรัฐ หรือเรียกว่า Project Management Office ( PMO มุ่งเน้นให้เกิดการ  ประสานงานเพื่อให้มีการบูรณาการหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาอุปสรรค การขยายผลการดำเนินการ เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ให้คำแนะนำ       คำปรึกษาในกระบวนการบริหารจัดการโครงการ การใช้เครื่องมือการบริหารจัดการโครงการ การรวบรวมข้อมูลเพื่อถอดบทเรียน (Lesson Learned) ความสำเร็จและ   ความล้มเหลวในการบริหารจัดการโครงการ การสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อเป็นตัวอย่างในการบริหารจัดการโครงการ การพัฒนาทักษะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในฐานะที่หน่วยงานเหล่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ (Project Manager) ตลอดจนการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจแก่สาธารณะถึงภาพรวม การดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ

     ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมกับกลุ่ม ป.ย.ป. กระทรวง และหน่วยงานเจ้าของโครงการ คัดครอง และประเมินคัดเลือกโครงการ/แผนงาน/กิจกรรม   ที่มีศักยภาพเพื่อขยายผลการดำเนินการต่อไปในวงกว้าง และดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อเร่งรัดการแก้ไขต่อไป โดยการติดตามขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญประจำปี 2566 แผนงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการภาค 6 ภาค และโครงการกิจกรรมตามแผนปฏิรูปประเทศที่คณะกรรมาธิการติดตามเสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา (คณะกรรมาธิการ ตสร. วุฒิสภา) เห็นควรติดตามเร่งรัดโดยโครงการในลักษณะดังกล่าวต้องอยู่ในวิสัยที่สำนักงาน ป.ย.ป. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังมีรายละเอียดปรากฏตามลิงก์ที่แนบ